วิสัยทัศน์การพัฒนา "ศรีสุนทรเมืองประวัติศาสตร์ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดี มุ่งพัฒนาภายใต้หลักธรรมาภิบาล"

วิสัยทัศน์

เทศบาลตำบลศรีสุนทร ได้กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) เพื่อแสดงสถานการณ์ในอุดมคติ ซึ่งเป็น จุดมุ่งหมายความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า ซึ่งจะสามารถสะท้อนถึงสภาพการณ์ ของท้องถิ่นในอนาคตอย่างรอบด้านภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมด้านต่างๆ จึงได้กำหนด วิสัยทัศน์ คาดหวังที่จะให้เกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้

"ศรีสุนทรเมืองประวัติศาสตร์ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดี มุ่งพัฒนาภายใต้หลักธรรมาภิบาล"

ยุทธศาสตร์

คณะกรรมการพัฒนาเทศบาลร่วมกับประชาคมท้องถิ่น ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ รวมทั้งองค์กร ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนดยุทธศาสตร์ของเทศบาล ๘ ด้าน โดยมีรายละเอียดดังนี้

๑) การพัฒนาด้านการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ การท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม

๑.๑ สร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๑.๒ บำบัดและจัดการขยะ

๑.๓ ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง

๑. ๔ จัดระบบบำบัดน้ำเสีย

๑.๕ ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวตามธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์

๒)การพัฒนาด้านการศึกษา

๒.๑ ส่งเสริม สนับสนุนการจัดสรรงบประมาณให้แก่โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นและโรงเรียนในเขตพื้นที่และการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์ตลอดจนการก่อสร้างระบบโครงสร้างพื้น ฐานและระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการต่างๆและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาทุกระดับตามระเบียบและข้อกฎหมายที่กำหนด

๒.๒ สนับสนุน ให้มีระบบการสร้างขวัญและกำลังใจแก่ครูอาจารย์ และบุคลากรทาง การศึกษา โดยอาจจัดทำในรูปของกองทุนการให้รางวัลดีเด่น รางวัลเชิดชูเกียรติ ตามระเบียบและ ข้อกฎหมายที่กำหนด

๒.๓ สนับสนุนการให้มีการพัฒนาหรืออบรมครู อาจารย์และผู้ดูแลเด็ก

๒.๔ สนับสนุนให้มีการร่วมมือ ระหว่าง สถานศึกษาผู้ปกครองและชุมชนเพื่อพัฒนาผู้เรียน ตามศักยภาพ

๒.๕ สนับสนุนเงินอุดหนุนการศึกษา โดยจัดบุคลากรตามความจำเป็นและเหมาะสม

๒.๖ ส่งเสริมการจัดการศึกษาตั้งแต่เด็กก่อนปฐมวัยจนถึงระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๒.๗ เพิ่มช่องทางในการรับข้อมูลข่าวสารให้แก่ประชาชน

๒.๘ งานกิจกรรมทั่วไปของโรงเรียนในเขตพื้นที่

๓) ส่งเสริมการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม จารีต ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

๓.๑ สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น

๓.๒ ฟื้นฟูประเพณีท้องถิ่นที่มีอยู่เดิมให้มีอยู่ตลอดไปคู่สังคม

๓.๓ ส่งเสริมและสนับสนุนวัฒนธรรมท้องถิ่น

๓.๔ ส่งเสริมกิจกรรมทางศาสนา

๓.๕ พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เพิ่มขึ้น

๓.๖ ส่งเสริมและปลูกจิตสำนึกในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น

๔) ยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพชีวิต

๔.๑ ส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดี และมีการเรียนรู้ด้านสุขภาพ ตามระเบียบและ ข้อกฎหมายที่กำหนด

๔.๒ ส่งเสริมการพัฒนาเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

๔.๓ พัฒนาศักยภาพของ อสม. สตรี, อาสาพัฒนาชุมชน

๔.๔ ส่งเสริมการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

๔.๕ ส่งเสริมให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

๔.๖ ส่งเสริมให้ประชาชนห่างไกลยาเสพติด

๔.๗ ส่งเสริมสวัสดิการและสงเคราะห์ประชาชน

๕) ยุทธศาสตร์การส่งเสริม นันทนาการ และกิจกรรมเด็ก เยาวชน

๕.๑ สนับสนุนให้มีศูนย์เยาวชน ลานกีฬา สถานที่ออกกำลังกายและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

๕.6 สนับสนุนและส่งเสริมการจัดกีฬาเพื่อมวลชนและกีฬาพื้นเมืองเพื่อต่อต้านยาเสพติด

๕.๓ จัดฝึกกีฬาขั้นพื้นฐาน โดยผู้ฝึกสอนที่มีความชำนาญ ด้านกีฬาแต่ละประเภท ตามความ พร้อมและตามความเหมาะสม

๕.๔ ส่งเสริมให้มีกิจกรรมกลุ่ม ตั้งชมรม สมาคม และสโมสรเกี่ยวกับกีฬาและนันทนาการ

๖) ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจ

๖.๑ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้แก่ประชาชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

๖.๒ สำรวจและจัดระบบข้อมูลพื้นฐานด้าน อาชีพภูมิปัญญาท้องถิ่น ความต้องการในการ พัฒนาอาชีพของประชาชนในท้องถิ่น ให้ถูกต้องครบถ้วนและทันสมัย รวมทั้งจัดระบบสารสนเทศเพื่อการ บริหารจัดการ

๖.๓ ส่งเสริมให้มีการฝึกอบรม ถ่ายทอดความรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีในการประกอบอาชีพ

๖.๔ ส่งเสริมให้มีการทัศนะศึกษาเพื่อหาประสบการณ์จากแหล่งประกอบอาชีพ

๖.๕ ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ สมาคม ชมรมอาชีพต่าง ๆ

๖.๖ สนับสนุนให้มีลานสินค้า ตลาดนัด ศูนย์จำหน่ายสินค้าท้องถิ่น

๖.๗ พัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีมาตรฐานเพิ่มขึ้น

๖.๘ สร้างเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง

๗) การพัฒนาด้านการคมนาคม

๗.๑ ดำเนินการก่อสร้างปรับปรุง บำรุงรักษา ถนน สะพาน ทางเท้าคูระบายน้ำ ระบบจราจร ระบบฟฟ้า คู คลอง หนอง บึง ระบบสาธารณูปโภค และระบบสาธารณูปการทุกรูปแบบ

๘)การพัฒนาการบริหารให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัย โปร่งใส ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมภายใต้ หลักธรรมาภิบาล

๘.๑ สนับสนุน และส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับกิจกรรมของเทศบาลให้แก่ประชาชน

๘.๒ เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ประชาชน

๘.๓ สนับสนุน ปรับปรุง จัดหาเครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ที่จำเป็น และทันสมัยไว้ใช้งาน

๘.๔ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กร

๘.๕ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

เป้าประสงค์

๑.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักรักษาสภาพแวดล้อม

๒.เพื่อสืบสาน วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น

๓.เพื่อให้การศึกษาทุกระบบมีการพัฒนา

๔.เพื่อให้ผู้สูงอายุ และประชาชนผู้ด้อยโอกาสได้รับการพัฒนาด้านสุขภาพกายและจิตใจ

๕.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนและเยาวชนได้มีการเล่นกีฬาและออกกำลังกาย

๖.เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

๗.เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพเสริมและรายได้ที่เพิ่มขึ้น

๘.เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ครอบคลุม

๙.พัฒนาระบบการบริหารจัดการ

ตัวชี้วัด

๑) ประชาชนในเขตเทศบาลมีแหล่งน้ำในการอุปโภคเพิ่มมากขึ้นร้อยละ ๕

๒ ในเขตเทศบาลมีโครงสร้างพื้นฐานให้ประชาชนได้ใช้บริการร้อยละ ๘๐

๓) ประชาชนมีความรู้มากขึ้นร้อยละ ๙๐ และศิลปวัฒนธรรมอันดียังคงอยู่

๔) ประชาชนในเขตเทศบาลร้อยละ ๘๐ มีความรู้และมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยว ศาสนา วัฒนธรรมประเพณีและกีฬา

๕) ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นร้อยละ ๑๐

๖) ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ ๕ และพี่งตนเองได้มากขึ้น

๗) พื้นที่ในเขตเทศบาลร้อยละ ๖๐ น่าอยู่อย่างสงบสุข

๘) การบริการจัดการของเทศบาลมีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูงร้อยละ ๖๐

ค่าเป้าหมาย

๑) ด้านการได้รับบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานให้มีความสะดวกและรวดเร็ว

๒) ประชาชนมีความรู้และบำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม

๓) ประชาชนมีศักยภาพมีรายได้เพียงพอสามารถพึ่งตนเองได้

๔) มลภาวะและสิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษทำให้ชุมชนน่าอยู่อย่างสงบสุข

๕) การบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

กลยุทธ์

๑) พัฒนาขุดลอก คูคลองและจัดสร้างแหล่งน้ำ สงวนและเก็บกักน้ำเพื่อการเกษตร เพื่อการ อุปโภคและบริโภค รวมทั้งวางโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้ง

๒) ส่งเสริมและพัฒนาระบบการศึกษา บุคลากรด้านการศึกษา ครู นักเรียน ให้เป็นผู้มีคุณภาพ มีทักษะและศักยภาพตามมาตรฐานสากล รองรับประชาคมอาเซียน

๓) ส่งเสริมให้เกิดเกษตรอุตสาหกรรม ลดต้นทุน เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร ปรับปรุง ผลิตผลให้มีคุณภาพ ส่งเสริมสนับสนุนการถนอมและแปรรูปสินค้าทางการเกษตร ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงสัตว์ เศรษฐกิจ เพื่อการบริโภคเพื่อจำหน่วยและเพื่อการอนุรักษ์ และเพิ่มช่องทางตลาด

๔) ส่งเสริมชุมชนให้ข้มแข็ง พัฒนาบทบาทของผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้านและชุมชน ให้พัฒนาบทบาทและคุณภาพชีวิตของเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ประชาชน และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน พัฒนาคุณภาพและศักยภาพตามความสามารถของแรงงาน ในท้องถิ่น

๕) ส่งเสริมสนับสนุนการวางระบบการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานให้สอดคล้องกับความจำเป็น และความต้องการของประชาชน ก่อสร้าง ปรับปรุงเส้นทางการคมนาคมอย่างทั่วถึง

๖) พัฒนาฟื้นฟูและส่งเสริมกิจกรรมด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของชุมชนท้องถิ่น โดยการอนุรักษ์สืบสานต่อและเชื่อมโยงสู่กิจกรรมการท่องเที่ยว

๗) ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงน นำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารงานภายในองค์กร สนับสนุนบุคลากรในสังกัดให้ได้รับการศึกษา อบรม การทำวิจัย เพิ่มพูนความรู้

๘) เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ

๙) ส่งเสริม สนับสนุนและร่วมมือกับส่วนราชการ หน่วยงานต่างๆ ในการเตรียมความพร้อม ในการป้องกันภัย และการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดในเขตชุมชนและสถานที่สำคัญ สนับสนุนการฝึกอบรมจัดตั้งและอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) และดูแลรักษาความปลอดภัย และการจราจร

๑๐) พัฒนาฟื้นฟูและอนุรักษ์ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำ ลุ่มน้ำลำคลองและบำาไม้ให้มี ความอุดมสมบูรณ์ สร้างจิตสำนึกเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษและปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชนจัดทำ ระบบกำจัดขยะรวม และจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

จุดยืนทางยุทธศาสตร์

๑) การพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่มีความเข้มแข็ง โดยได้รับบริการสาธารณะด้านโครงสร้าง พื้นฐานที่จำเป็นเพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนและเศรษฐกิจ

๒) การพัฒนาระบบการศึกษาและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

๓) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนและความเข้มแข็งของชุมชนในการพึ่งตนเอง

๔) การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและมลภาวะสิ่งแวดล้อมที่มีอย่างยั่งยืน

๕) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ในภาพรวม การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลมีความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ในภาพรวม ดังนี้

หน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง