พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดภูเก็ต ซึ่งจุดเริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2333 ทำให้ภูเก็ตเป็นปัจจัยสำคัญแห่งหนึ่งในการปกป้องเมืองและคืนอิสระให้กับตนเองได้จากการถูกบุกรุกของพม่า โดยท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร ซึ่งเป็นวีรสตรีไทยที่ป้องกันเมืองถลางให้พ้นจากข้าศึกได้ในสงครามเก้าทัพในขณะนั้น จากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ครั้งนั้น ทำให้ถูกนำไปตั้งชื่อเป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง และในช่วงปี พ.ศ. 2528 ได้มีการเปิดอย่างเป็นทางการ เพื่อเฉลิมฉลอง ครบรอบ 200 ปี วีรสตรีเมืองถลาง โดยความร่วมมือของกรมศิลปากร ให้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลางขึ้น

การสร้างอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร เพื่อเป็นอนุสรสถานเชิดชูเกียรติของสองวีรสตรี และเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมการ จัดการแสดงให้ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม ของจังหวัดภูเก็ตและพื้นที่ใกล้เคียงแถบชายฝั่งทะเลอันดามัน รวมทั้งเป็นสถานที่อนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมและสนับสนุนกิจการด้าน การท่องเที่ยวของภูเก็ต

อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2528 และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2532 การจัดแสดงนิทรรศการถาวรภายในอาคารจัดแสดงทั้ง 2 หลัง เน้นการนำ เสนอเนื้อหาเรื่องราวทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชาติพันธุ์วิทยา และศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดภูเก็ตและพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้:

1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แสดงความเป็นอยู่ของมนุษย์สมัยก่อน ประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ แถบชายฝั่ง ทะเลอันดามัน และโบราณวัตถุซึ่งได้จากการสำรวจขุดค้น

2. อารยธรรมอินเดียบนคาบสมุทรภาคใต้แสดง ถึงความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับดินแดนคาบสมุทรภาคใต้ ของประเทศไทยที่มีมาแต่โบราณนับพันปี โดยยังคงมีศิลปะโบราณ วัตถุเป็นหลักฐานสำคัญ ได้แก่ เทวรูปพระนารายณ์ หรือพระวิษณุ รวมถึงพระพิมพ์ดินดิบแบบต่างๆ สถูปจำลอง ลูกปัด เป็นต้น

3. ประวัติศาสตร์ของจังหวัดภูเก็ต แสดงเรื่องเกี่ยวกับ จังหวัดภูเก็ตนับแต่อดีต เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่น เหตุการณ์เมื่อครั้งศึกถลาง ความเจริญรุ่งเรืองของภูเก็ต ในสมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี เป็นต้น

4. ชาติพันธุ์วิทยา แสดงเอกลักษณ์ ด้านศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีความเป็นอยู่ อาชีพ เครื่องมือเครื่องใช้ ของกลุ่มชนผู้อาศัยอบยู่ในจังหวัดภูเก็ต เช่น เกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวจีน ชาวเล การทำเหมืองแร่ การทำสวนยางพารา เป็นต้น

ที่ตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง :

อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 83110 ประเทศไทย

โทร. 0 7631 1426

บริการจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ :

- นิทรรศการพิเศษ

- ใบโบว์ชัวร์

- ร้านโปสการ์ดและหนังสือ

ช่วงเวลาเปิดทำการ :

เปิดทุกวันยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00 น. - 16:00 น.

ค่าธรรมเนียมเข้าชม :

คนไทย 20 บาท ยกเว้นพระภิกษุ สามเณร และนักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ (ราคานี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ)

แผนที่
หน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง