ตามรอยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรวุธ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาที่นี่เมื่อ ร.ศ.๑๒๘ (พ.ศ.๒๔๕๓) และ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้เสด็จฯ มาเมื่อ ร.ศ.๑๒๑ (พ.ศ.๒๔๔๖) ปัจจุบันสถานที่นี้ยังคงหลงเหลือร่องรอยของป้อมปืน สระนางละคร โบราณวัตถุ และศาลาว่าราชการงานเมืองของพระยาวิชิตสงคราม (ทัตรัตนดิลก ณ ภูเก็ต) เจ้าเมืองภูเก็ตที่ย้ายมาสร้างศาลาว่าราชการหลังใหม่ เมื่อพ.ศ.๒๔๑๙ เพื่อความปลอดภัยจากการจลาจล ของวุ่นจีน กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘

บ้านพระยาวิชิตสงครามจัดเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่ร้อยเรียง เรื่องราวสาระทางประวัติศาสตร์ถลางภูเก็จและภูเก็ต ผ่านโบราณวัตถุและโบราณสถานในพื้นที่กำแพงจวน ศาลาว่าการเมืองภูเก็จ ช่องปืนใหญ่ในป้อมปืนกำแพง สระนางละคร และร่องรอยการถลุงแร่ดีบุก

ที่ตั้ง หมู่ที่ ๓ บ้านท่าเรือ ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ๘๓๑๑๐ ประวัติ สถานที่ว่าราชการงานเมืองและงานบ้านรวมกันอยู่ในจวน (บ้าน) พระยาวิชิตสงคราม ตามชื่อผู้สร้างคราศีกวุ่นจีน (อั้งยี่) พ.ศ.๒๔๑๙ ณ ที่ดินเดิมของปู่เจ๊ะมะเจิม รัตนดิลก ณ ภูเก็ต (ประสิทธิ ชิณการณ์ : ๒๕๒๖ : บรรณานุกรม ) หรือพระยาถลางเจิม อยู่ใกล้หลักเมืองถลางท่าเรือ (สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ๒๕๖๑ : ภูเก็จจดหมายเหตุ) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้เสด็จ ฯ ทอดพระเนตรจวนพระยาวิชิตสงคราม ทรงบันทึกว่าเป็น "ค่ายพระยาภูเก็จ จางวาง" (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ : บรรณานุกรม อ้างจาก วราวุฒิ วิสิฐพาณิชกรรม) เสด็จ ฯ เมื่อ ๑๖ พฤษภาคม ร.ศ.๑๒๑ (พ.ศ.๒๔๔๕) พระบาทสมเด็จฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยดำรงพระราชอิสริยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ ทอดพระเนตรเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ร.ศ.๑๒๘ (พ.ศ.๒๔๕๒) ทรงบันทึกไว้ว่า " ...บ้านนี้ท่านพระยาวิชิตสงครามสร้างขึ้น เมื่อครั้งจีนกระทำตั๋วเหี่ยขึ้นที่เมืองภูเก็ต ท่าน พระยาวิชิตเห็นว่าอยู่ในเมืองภูเก็ตใกล้อันตรายนัก จึงไปสร้างบ้านขึ้นที่ท่าเรือสำหรับเลี่ยงไปอยู่ มี กำแพงแข็งแรงราวกับกำแพงเมือง มีใบเสมาตัดเหลี่ยม มีป้อมวางเป็นระยะ ๆ รอบเตรียมรบเจ็ก อย่างแข็งแรง..."

กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานบ้านพระยาวิชิตสงคราม มีพื้นที่ ๑๐ ไร่ ๑ งาน ๑๘ ตารางวา ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๒๘ วันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๘

บรรณานุกรม

- "บ้านพระยาวิชิตสงคราม" ใน province.m-culture อรุณรัตน์ สรรเพ็ชร/p>

- สืบค้นจาก http://province.m-culture.go.th/phuket/index.php/phuket เมื่อ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๓

- "บ้านพระยาวิชิตสงคราม" (๒๕๕๒) ทำเนียบแหล่งประวัติศาสตร์ถลางภูเก็ต : สำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดภูเก็ต ๓๙ หน้า

- "ประวัติพระยาวิชิตสงคราม" (ทัตรัตนดิลก ณ ภูเก็ต) (มปป.) ผู้สร้างเมืองภูเก็ต (พ.ศ.๒๓๙๒-๒๔๑๒)ภูเก็ต : มอภ.จห.๕๖๘๐, ๑๒ หน้า

- ประสิทธิ ชิณการณ์ (๒๕๒๖) บ้านพระยาวิชิตสงคราม ภูเก็ต : phuketdata อรุณรัตน์ สรรเพ็ชร สืบค้น เมื่อ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๓

- วราวุธ วิสิฐพาณิชยกรรม (๒๕๖๓) "ค่ายพระยาวิชิตสงคราม" ใน จห.สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ภูเก็ต : มอภ.จห.๑๔๙๒๐

- สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ บรรณาธิการ (๒๕๖๑) ภูเก็จ : จดหมายเหตุ ภูเก็ต : หภว. หอจดหมายเหตุภูเก็ต โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ๒๕ เมษายน ๒๕๖๑, ๒๓๓ หน้า

- สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ บรรณาธิการ (๒๕๔๔) วัฒนธรรม

- พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดภูเก็ต กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร ๓๘๓ หน้า

อนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรี ท้าวศรีสุนทร :

วงเวียนสี่แยกบ้านท่าเรือ หมู่ที่ ๓ ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

แผนที่
หน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง